การประเมินการรับมือโดยใช้อารมณ์ ของ การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา)

กลุ่มนักจิตวิทยากลุ่มหนึ่งได้พัฒนาแบบวัดการรับมือโดยใช้อารมณ์ในปี 2543[16]ซึ่งมีการวัดย่อย 2 กลุ่ม คือ การประมวลอารมณ์ และการแสดงอารมณ์[16]โดยค่าทั้งสองมีสหสัมพันธ์กัน แต่ก็เป็นเรื่องต่างกัน[16]

ส่วนที่วัดการประมวลอารมณ์สะท้อนให้เห็นความพยายามเพื่อเข้าใจ พิจารณา และตรวจสอบอารมณ์เป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์เครียดยกตัวอย่างเช่นเป็นการยอมรับว่า "ฉันยอมรับความรู้สึกของฉัน" และ "ฉันใช้เวลาเพื่อพิจารณาว่าฉันกำลังรู้สึกอย่างไรจริง ๆ"ส่วนการแสดงอารมณ์สะท้อนให้เห็นความพยายามเพื่อสื่อสารและแชร์อารมณ์กับคนอื่น ๆ ทั้งทางคำพูดและไม่ใช่คำพูด[16]ตัวอย่างเช่น "ฉันปล่อยให้ตัวเองแสดงความรู้สึก" และ "ฉันตามสบายในการแสดงอารมณ์"[16]การวัดทำทั้งโดยคำถามเฉพาะสถานการณ์ (เช่น คุณทำอะไรเพื่อตอบสนองต่อความเครียดนี้) และเฉพาะนิสัย (เช่น คุณทำอะไรโดยทั่วไป)[17]โดยค่าวัดไม่มีสหสัมพันธ์กับความเอนเอียงเพราะเหตุความชอบใจทางสังคม (social desirability bias)[18]

นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว แบบวัดยังได้ตรวจความสมเหตุสมผลแล้วในภาษานอร์เวย์[19]และภาษาตุรกี[20]ด้วย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา) http://www.biomedcentral.com/1471-2474/10/107/abst... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S01638... http://psp.sagepub.com/content/30/5/558 http://psp.sagepub.com/content/33/2/238 http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1467-... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1547-... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1755-... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2749806 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2911487 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3237825